top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนTNC Digital

Digital PR and SEO

  • ทำไมต้องมีเว็บไซต์

  • SEO มีความสำคัญกับการทำ PR อย่างไร

  • เทคนิคการทำ SEO ให้ได้ผลเร็วใน 3 เดือน



1. ทำไมต้องมีเว็บไซต์

  • เพื่อความเป็นเจ้าของ Digital Asset


ช่วงเวลา 4 - 5 ปีที่ผ่านมา กระแส Social Media กำลังมาแรง โดยเฉพาะ Facebook ทำให้แบรนด์สินค้า ผู้ประกอบการต่างๆ รวมไปถึงบรรดาพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต่างพุ่งความสนใจไปที่การทำการตลาดผ่าน Facebook และ Instagram เป็นจำนวนมาก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จในระดับนึง แต่เมื่อเวลาผ่านไป Facebook ได้ปรับเปลี่ยนอัลกอลิทึ่ม ลด reach ให้น้อยลง จำกัดการเห็นของแฟนๆ (ลูกเพจ) ทำให้การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายยากขึ้น นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์ รวมไปถึงทุ่มงบประมาณในการลงโฆษณามากขึ้น เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเท่าเดิมเหมือนอย่างที่เคยเป็น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นแบรนด์สินค้าที่พึ่งพาแพล็ตฟอร์มอื่นๆ มากจนเกินไป ดังนั้นการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ทำให้ลดการพึ่งพา social media ให้น้อยลง โดยสร้าง asset ที่เป็นของเราขึ้นมาเอง เราเป็นเจ้าของเนื้อหา ประกอบกับการปรับแต่งเนื้อหา (content) ให้รองรับการค้นหา

นอกจากนี้การมีเว็บไซต์ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ เช่น คำค้นที่ค้นหาแล้วคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ พฤติกรรมของลูกค้า วิเคราะห์ customer journey รวมไปถึงรู้จัก และเข้าใจความต้องการของลูกค้ามากขึ้น


  • เพื่อความน่าเชื่อถือ

การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเองนั้น ต้องมีการจดชื่อโดเมนเนมเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัท ห้างร้าน ถ้าสามารถใช้โดนเมนเนม .co.th , .or.th หรือแม้กระทั่ง .in.th นั้น ต้องมีการส่งเอกสารรับรองการจัดทะเบียนบริษัท ทางผู้ให้บริการถึงจะอนุมัติให้จดได้ ซึ่งการมีตัวตนบนโลกออนไลน์อย่างเป็นทางการยิ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อให้กับธุรกิจ

แตกต่างกับการเปิดเพจบน Facebook ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้เพียงแค่ไม่กี่นาที

  • เพื่อให้ลูกค้าค้นหาเจอ

Google มีคนใช้ใช้เป็นแพล็ตฟอร์มหลักในการค้นหาข้อมูล โดยมีส่วนแบ่ง (Market share) กับ search engine เจ้าอื่นๆ สูงถึง 98.79% ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้า หรือผู้บริโภคที่เข้าสู่ขั้นตอนการค้นหาข้อมูล หรือ research แล้ว มักจะโน้มเอียงไปทางการตัดสินใจซื้อ หรือเลือกใช้บริการสินค้าและบริการแบรนด์นั้นๆ อยู่แล้ว การมีเว็บไซต์ที่รองรับการค้นหายิ่งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น

  • เพื่อการเชื่อมต่อกับแพล็ตฟอร์มอื่นๆ

พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละ social media platform มีความหลากหลาย ดังนั้นผู้ประกอบการ หรือนักการตลาดจึงไม่สามารถทิ้งช่องทางใดทางหนึ่ง แต่ควรเลือก และปรับใช้ให้เข้ากับธุรกิจ และตรงกลุ่มเป้าหมาย เช่นบางธุรกิจอย่างสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า ลูกค้าอาจจะชอบพูดคุย chat กับแม่ค้าผ่าน Facebook Messenger หรือ Line ถ้าหากลูกค้ารายนั้นๆ สนใจแบรนด์สินค้านั้นจริงๆ อาจจะเข้ามาค้นหาต่อในเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของธุรกิจสามารถออกแบบ จัดเนื้อหาให้ง่ายต่อการค้นหามากขึ้น ต่างจาก Facebook ที่เป็น push media การค้นหาโพสท์ หรือรูปสินค้าเก่าๆ นั้นทำได้ยาก

  • ประหยัดค่าโฆษณา

การลงโฆษณาไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตามใน digital platform แล้วให้ลูกค้าคลิกกลับมายังเว็บไซต์ของตัวเอง จะทำให้นักการตลาดวิเคราะห์ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใด้ทันท่วงที ยกตัวอย่าง case study สินค้าบางแบรนด์ที่ไปฝากขายผ่านแพล็ตฟอร์มเจ้าดังๆ อย่างเช่น Lazada, Shopee เจ้าของแบรนด์จะทราบเพียงยอดขาย และข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าเท่านั้น แต่ถ้าเป็นเจ้าของเว็บไซต์เอง จะรู้ที่มาของคำสั่งซื้อ แนวโน้มของกลุ่มเป้าหมายใดที่ควรโฟกัส เป็นต้น

นอกจากนี้การมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง ยังสามารถใช้ข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ (audience) ในการทำ re-marketing ผ่าน paid media หลายๆ แพล็ตฟอร์มได้ ซึ่งแนวโน้วในปี 2019 นี้ การทำ re-marketing ยังได้ผล และต้นทุนต่ำที่สุด หากแต่ต้องมีการจำกัดการมองเห็นให้เหมาะสม ไม่รบกวน หรือคุมคามกลุ่มเป้าหมายมากจนเกินไป


2. SEO มีความสำคัญกับนักประชาสัมพันธ์อย่างไร

ในอดีตนั้น การทำ PR จะเป็นไปในลักษณะ push media ผ่านการเขียน press release แล้วส่งไปทางสื่อช่องทางต่างๆ หรือใช้บริการจาก PR Agency รวมไปถึงสร้างกิจกรรม ความเคลื่อนไหวทางการตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แบรนด์อยู่ในการรับรู้ของผู้บริโภคตลอดเวลา



แต่เมื่อมีการเกิดขึ้นของอินเตอร์เน็ต press release ต่างๆ ก็มีช่องทาง (channel) เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งช่องทาง แรกเริ่มนั้นเป็นเพียงการทำเว็บไซต์รวมผ่าน PR หรือ Online Newsrooms, Media KITs ยังไม่ได้มีการปรับแต่งให้รองรับการค้นหาใดๆ



ต่อมาเมื่อสำนักข่าวพีอาร์มองเห็นโอกาสเหล่านี้ แทนที่จะปล่อยให้เว็บไซต์อื่นดึงข่าวออกไปโพสท์ แล้วติดอันดับการค้นหามากกว่า สำนักข่าวพีอาร์จึงหันมาทำเว็บไซต์ให้รองรับ SEO มากขึ้น รวมไปถึงแบรนด์สินค้า เจ้าของเว็บไซต์ที่เป็นเข้าของพื้นที่บนโลกออนไลน์เริ่มให้ความสำคัญกว่าแต่ก่อน


ดังนั้นการที่นักประชาสัมพันธ์ขาดการให้ความสำคัญต่อ SEO จะทำให้พลาดโอกาสตรงส่วนนี้ไปอย่างน่าเสียดาย



และสุดท้าย การเชื่อมโยงเว็บไซต์กับ Social Media Platform อื่นๆ แล้วมีการปรับแต่ง Social Media Optimize ที่เหมาะสม จะช่วยเอื้อประโยซน์ให้กันและกัน เช่นการปล่อยข่าวพีอาร์เป็นคลิปวีดีโอบน YouTube แล้วตั้งชื่อ ใส่คำอธิบายให้รองรับการค้นหา แล้วแปะลิ้งค์กลับมายังเว็บไซต์หลัก จะเป็นการใช้ประโยชน์จาก social media ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


และสุดท้าย การเชื่อมโยงเว็บไซต์กับ Social Media Platform อื่นๆ แล้วมีการปรับแต่ง Social Media Optimize ที่เหมาะสม จะช่วยเอื้อประโยซน์ให้กันและกัน เช่นการปล่อยข่าวพีอาร์เป็นคลิปวีดีโอบน YouTube แล้วตั้งชื่อ ใส่คำอธิบายให้รองรับการค้นหา แล้วแปะลิ้งค์กลับมายังเว็บไซต์หลัก จะเป็นการใช้ประโยชน์จาก social media ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


3. เทคนิคพิเศษในการทำ SEO ให้ได้ผลเร็วใน 3 เดือน

  1. เลือกใช้ Keywords ที่กำลังมีการค้นหาอยู่ในขณะนั้น และสอดคล้องกับแบรนด์ของตัวเองในการตั้งชื่อ และเขียนเป็นคำอธิบายในย่อหน้าแรก โดยสามารถใช้เครื่องมือฟรีอย่าง Google Trends ในการวิเคราะห์คำค้นหาที่กำลังเป็นนิยม

  2. เชื่อมโยงเนื้อหาใหม่ๆ ไปยังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน ใน Keyword เดียวกัน หรือใกล้เคียงกันกับบทความ หรือเนื้อผา (Content) เก่าๆ เพื่อให้กูเกิลมองว่าเนื้อหาในเว็บไซต์เราเป็นประโยชน์กับลูกค้าจริงๆ มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันไปมา

  3. เลือกใช้ format ที่เหมาะสม ตามแต่และจุดประสงค์ของการทำ PR เช่น การทำคลิปสั้นๆ 30 วินาที ถึง 1 นาที และเพิ่ม subtitle แม้ content นั้นๆจะเป็นภาษาไทยอยู่แล้วก็ตาม แล้วโพสต์ลง Facebook Fanpage จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง และสร้าง engagement จากนั้นจึงลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์หลัก หรือ official website อีกที

  4. การตั้งชื่อรูปภาพ และวีดีโอประกอบบทความ/เนื้อหาข่าว ควรมี Keyword อยู่ในนั้น ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการค้นหา เพราะกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มอาจจะไม่ได้อ่านบทความ แต่กำลังค้นหารูปภาพ หรือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์เราอยู่ก็ได้

  5. สร้างพันธมิตรกับเว็บไซต์อื่นๆ ไว้ เพื่อฝากข่าว หรือแลกลิ้งค์เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ เพราะการได้รับการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่น ทำให้กูเกิลมองว่าเนื้อหาในเว็บไซต์เราน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ค้นหา จึงมีผลต่อการจัดอันดับ นอกจากนี้การมีปฏิสัมพันธ์กับ influencer อย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ได้รับการจัดอันดับ และเห็นผลได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย

และสุดท้าย อย่ามองข้ามช่องทาง offline การใช้ชื่อเว็บไซต์ที่สั้น กระชับ จดจำง่าย แล้วใส่ในสื่อ offline อื่นๆ เช่น นามบัตร โบว์ชัวร์ หนังสือพิมพ์ ทีวี หรือแม้กระทั่งบนป้ายโฆษณาบิลบอร์ดขนาดใหญ่ ก็จะช่วยสร้างการรับรู้ นำไปสู่กระบวนการค้นหา และคลิกกลับเข้ามายังเว็บไซต์ได้อีกด้วย

ดู 68 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page